ความหมายของมลพิษสิ่งแวดล้อม
มลพิษสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมที่มีมวลสาร สารพิษปนเปื้อนต่างๆ เช่น สารเคมี ก๊าซพิษ และสิ่งปฏิกูลปนเปื้อนในทรัพยากรธรรมชาติชนิดต่างๆ ทำให้ทรัพยากรเหล่านั้น มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม จนมนุษย์ไม่สามารถนำไปใช้เป็นปัจจัยสี่ในการดำรงชีพได้ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ทั้งทางร่ายกาย อารมณ์ และจิตใจ
มลพิษสิ่งแวดล้อมทางสังคม หมายถึง ระบบนิเวศที่ตัวควบคุมทางสังคม เช่น กฎหมาย ประเพณี หือวัฒนธรรมขาดประสิทธิภาพ หรือเสื่อมในแง่ทฤษฏี จนทำให้สังคมเกิดปัญหามากมายหลายด้าน ปัญหาสังคมที่มักพบบ่อยๆ ได้แก่ ปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม ปัญหาคนว่างงาน คอรัปชั่น และสงคราม
สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม
มลพิษสิงแวดล้อมสืบเนื่องมาจากความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ที่มีการพัฒนาในทุกๆด้าน โดยไม่ได้หาทางป้องกันที่อาจเกิดตามมา ทำให้มวลมนุษย์เองได้รับผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพ ร่างกายและจิตใจ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม คือ
1. การเพิ่มจำนวนของประชากร ส่งผลให้ความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ต้องการพื้นที่ทำการเกษตร ต้องการน้ำ อากาศ แร่ธาตุ พลังงาน และอื่นๆ มากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันขาดการวางแผนการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีมลพิษ มลสาร และสารปนเปื้อนสูง
2. การขยายตัวของเมือง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศตามธรรมชาติ ประกอบกับขาดการวางแผนการวางผังเมืองไว้ล่วงหน้า ทำให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากมาย
3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ปัจจุบันมนุษย์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และปัจจัยสี่ โดยการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ซึ่งก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อคุณภาพดินในระยะยาว
4. ค่านิยมที่ไม่เหมาะสม ค่านิยมที่ไม่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
1. ความฟุ่มเฟือย หรูหรา 4. ความประมาท
2. ความมักง่าย 5. ความเป็นชอบผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
3. ความเป็นเอกเทศ 6.เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
ผลกระทบจากการเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม
1. ด้านสาธารณสุข เช่น ถ้าทรัพยากรน้ำเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ย่อมเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่างๆ และก่อให้เกิดโรคระบาด เช่น อหิวาต์ ไทฟอยด์ บิด หรือถ้ามีสารโลหะหนักบางชนิดมากเกินไปในน้ำ เมื่อมนุษย์นั้นนำน้ำมาอุปโภคบริโภค จะทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ตะกั่วจะทำให้เกิดโรคมินามาตะ สารหนูจะทำให้เกิดโรคไข้ดำ เป็นต้น
2. ด้านเศรษฐกิจ เมื่อทรัพยากรธรรมชาติเกิดมลพิษสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก จึงส่งผลทำให้ราคาสินค้าที่เป็นปัจจัยสี่สูงขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ และผลที่ตามมาคือทำให้เกิดความเครียด
3. ด้านทัศนียภาพ มลพิษสิ่งแวดล้อมทำลายความสวยงามทางธรรมชาติทำให้พื้นที่ในการพักผ่อนหย่อนใจน้อยลง และส่งผลให้คุณภาพชีวิตต่ำลง ดังนั้น มนุษย์จึงควรหาแนวทางควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบนิเวศได้รับความกระทบกระเทือน หรือทำให้ระบบชีวมณฑลเสียสมดุลธรรมชาติไป จนกระทั่งมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
แนวทางควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน
1. การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์
2. การนำทรัพยากรมาใช้ต้องยึดหลักอนุรักษ์วิทยา
3. กระบวนการในการนำทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ
4. การใช้ระบบนิเวศหรือทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องและรัดกุม ย่อมก่อให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมน้อยหรือไม่เกิดเลย ถ้ามีมลพิษสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น มนุษย์ต้องควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดมลพิษเพิ่มมากขึ้น โดยคำนึงถึงสภาพของระบบนิเวศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น