มลพิษทางน้ำ

มลพิษทางน้ำ




 น้ำที่บริสุทธิ์จะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ เช่น สะอาด ใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี มีจุดเยือกแข็งที่ 0 องศาเซลเซียส ตามปกติน้ำที่บริสุทธิ์ทำได้ยาก นอกจากจะทำการกลั่นหลายๆ ครั้ง ทั้งนี้เพราะน้ำตามธรรมชาติจะมีแร่ธาตุ ก๊าซ และสารอื่นๆ ที่มีอยู่ในบรรยากาศเจือปนอยู่ ยิ่งเป็นน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน คุณสมบัติของน้ำจะผันแปรไปตามแหล่งน้ำที่ไหลผ่านหรือซึมผ่านลงไป ซึ่งอาจจะมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ และแร่ธาตุต่าง ๆ เจือปน

น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีของเสียอยู่ในสภาพเป็นของเหลวปนอยู่ รวมทั้งมวลสารที่ปะปน หรือปนเปื้อนอยู่ในของเหลวนั้น จนทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม
มลพิษทางน้ำ หมายถึง น้ำที่เสื่อมคุณภาพ หรือน้ำที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากธรรมชาติ ทั้งนี้เนื่องมาจากมีมวลสารสารพิษ หรือสารปนเปื้อนต่างๆ ปะปนเกินมาตรฐานที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด จนทำให้ไม่สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำสังเกตได้จากหลายลักษณะได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น การที่น้ำขุ่นเนื่องจากมีสารแขวนลอยปนเปื้อนอยู่ หรือการที่น้ำมีสีเปลี่ยนไปเนื่องจากมีแร่ธาตุบางชนิดผสมอยู่ และการมีคราบน้ำมัน เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ เช่นการเปลี่ยนรสชาติเกิดจากาสรเคมีหรือการสลายตัวของสารเคมีในน้ำ
3. การเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา โดยมีปริมาณจุลินทรีย์มาก ทำให้น้ำมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ประโยชน์ จุลินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย เชื้อรา และสาหร่ายที่เจริญแพร่พันธุ์ได้ดี เมื่อมีสารอินทรีย์ต่างๆ มากในน้ำ แบคทีเรียจะย่อยสารอินทรีย์เหล่านี้ในสถาวะที่มีออกซิเจนและก๊าซที่มีคาร์บอนไดออกไซค์และน้ำออกมา ซึ่งสาหร่ายจะนำไปเป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสงต่อไป
4. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เกิดจากการปล่อยสารอนินทรีย์ เช่น โลหะหนักจำพวกปรอท ตะกั่ว สารหนู ลงสู่แม่น้ำทำให้มีสภาพเป็นกรดหรือด่างมากกว่าค่ามาตรฐาน

 มวลสารที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
มวลสาร สารพิษ หรือสารปนเปื้อนที่ทำให้ทรัพยากรน้ำมีคุณสมบัติเปลี่ยนไป ได้แก่
1. สารอนินทรีย์ ส่วนใหญ่ได้รับจากน้ำที่ปล่อยทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และเหมืองแร่ทำให้น้ำมีคุณสมบัติทางกายภาพ ชีวภาพ และทางเคมีเปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แต่ผลเสียจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดละปริมาณ รวมทั้งระยะเวลาในการได้รับมวลสารนั้นๆ โดยที่สารอนินทรีย์เหล่านี้ไปตามห่วงโซ่อาหารจนกระทั่งถึงมนุษย์ในลำดับสุดท้าย เช่น โลหะหนักจำพวกปรอท ตะกั่ว แคดเมียม
2. สารอินทรีย์ มีทั้งพวกไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น โปรตีน กรดอะมิโน และปัสสาวะ รวมทั้งไม่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เช่น สารจำพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต ไขมัน สบู่ และน้ำมัน
3. ธาตุอาหารพืช ได้แก่ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ผงซักฟอก รวมทั้งซากพืชและสัตว์ ซึ่งถ้าน้ำมีธาตุเหล่านี้มาก จะไปเร่งการเจริญเติบโตของพืชจนทำให้เกิดการสะพรั่งได้ การเพิ่มธาตุอาหารในแหล่งน้ำจนทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตมากและทำให้น้ำเสียสมดุลไป เราเรียกภาวะนี้ว่า “ยูโทรฟิเครชัน”
4. เชื้อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เชื้อโรคเหล่านี้ก่อให้เกิดโรคต่างๆ แก่มนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้
5. สารกัมมันตรังสี เป็นผลผลิตจากเตาปฎกรณ์ปรมาณู สารเหล่านี้สามารถทำลายหรือเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม
6. ความร้อน เกิดจากน้ำส่วนที่ใช้ระบายความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมหรือการกลั่นน้ำมันซึ่งความร้อนนี้มีผลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม
7. ตะกอน ได้แก่ ตะกอนที่มาจากการกระทำของมนุษย์หรือเกิดตามธรรมชาติ ตะกอนเหล่านี้มีผลต่อความใส-ขุ่นของน้ำซึ่งอาจจะทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดน้อยลง จนทำให้พืชตายได้

สาเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
1. แหล่งชุมชน ได้แก่ อาคารบ้านเรือน สำนักงาน อาคารพานิชย์ โรงแรม และโรงพยาบาล ที่ปล่อยมวลสารปะปนมากับน้ำทิ้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ และสารที่ใช้ผักซักฟอกทำความสะอาด
2. โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานทำน้ำตาลและน้ำปลา โรงงานซักฟอก โรงงานทำสี โรงงานฟอกหนัง และโรงงานผลิตน้ำอัดลม การปล่อยของเสียลงในน้ำจากโรงงานต่างๆ เหล่านี้มักมีอัตราสูงทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
3. แหล่งเกษตรกร ปัจจุบันแหล่งเกษตรกรต่างๆ นิยมใช้น้ำยาปราบศัตรูมากขึ้น ทำให้เกิดการตกค้างตามต้นพืชและตามผิวดิน และจะถูกชะล้างไปกับน้ำฝนไหลไปตามแหล่งน้ำต่างๆ โดยแหล่งน้ำที่สลายตัวช้าจะเกิดการสะสมในแหล่งน้ำมากขึ้นจนเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้
4. แหล่งน้ำต่างๆ ซึ่งอาจเกิดการเน่าเสียได้เองเมื่ออยู่ในภาวะขาดออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการสะพรั่งของแพลงก์ตะกอน แล้วตายลงพร้อมๆ กัน

 ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางน้ำ
ผลกระทบโดยตรงที่เกิดจากมลพิษทางน้ำ คือ ทำให้ระบบนิเวศในแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติไปจากเดิม และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในด้านต่างๆ
1. ด้านสาธารณสุข น้ำเสียเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ทำให้เกิดการระบาดโรคต่างๆ เช่น อหิวาต์ ไทฟอยด์ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรคหลายชนิด
2. ด้านการประมง มลพิษทางน้ำทำให้สัตว์น้ำต่างๆ ลดปริมาณลงจนอาจจะสูญพันธุ์ไปในที่สุดเพราะไม่อาจดำรงชีวิตและแพร่พันธุ์ได้อย่างปกติ เนื่องจากออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจ
3. ด้านอุปโภคและบริโภค น้ำที่มีวัตถุเจือปนอยู่มากต้องเพิ่มระบบกำจัดความสกปรกมากขึ้นเพื่อผลิตน้ำให้ได้มาตรฐาน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อน้ำที่มีคุณภาพมาใช้อุปโภคบิโภค
4. ด้านเกษตร น้ำเสียมีความเป็นกรดและด่าง ไม่เหมาะต่อการเพาะปลูกเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ขังอาจเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ของการเกษตรอีกด้วย
5. ด้านทัศนียภาพ มลพิษทางน้ำจะทำลายความสวยงามตามธรรมชาติ ทำให้มนุษย์ไม่มีสถานที่
พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ทำให้มนุษย์มีอารมณ์และจิตใจเปลี่ยนไปจากเดิม

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ
1.ควบคุมมลพิษทางน้ำ ทำได้โดยการออกกฎหมายในลักษณะป้องกันมิให้น้ำเสีย โดยการกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงาน
2. รัฐบาลต้องออกกฎหมายที่เหมาะสม โดยใช้วิธีชักจูงใจประชาชนและโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อมิให้กระทบกระเทือนไปถึงผู้บริโภคมากเกินไป
3. กำหนดวิธีการกำจัดน้ำเสียก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนทางวิทยาศาสตร์แบบบรูรณาการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น